การผลิตคืออะไร



คุณเคยสงสัยมั้ยว่าทำไมการทำงานโดยส่วนมากเราถึงไม่สามารถทำคนเดียวได้ ทำไมคนเราถึงต้องอยู่เป็นกลุ่มก้อน นี้คือคำถามที่ผมฉุกคิดขึ้นมาก่อนที่ผมจะเขียนบทความนี้
เพื่อที่จะหาคำตอบ ผมเลยมองกลับไปที่พื้นฐานความจริงของการใช้ชีวิตของมนุษย์ ทำให้ผมฉุกคิดถึงความจริง 2 ข้อ นั่นคือ

  1. ไม่มีมนุษย์คนไหนที่สามารถมีความรู้ในทุกแขนงวิชาและสามารถทำทุกอย่างในโลกด้วยตัวคนเดียวได้
  2. มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอเกินกว่าจะอยู่คนเดียวได้

ในเรื่องของกำลังในการทำงาน (man power) เมื่อมนุษย์รวมกลุ่มกันก็จะเพิ่มพละกำลังรวมไปถึงศักยภาพของการทำงานขึ้นมาได้ ซึ่ง man-power นี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในยุคสมัยของอุตสาหกรรม ที่ต้องการแรงงานมาใช้ในการผลิต
ในเรื่องของสภาพจิตใจ การรวมกลุ่มกันจะช่วยให้มนุษย์สามารถพัฒนาความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่ช่วยในคนเราพัฒนาความคิด สามารถมองเห็นแนวทางใหม่ๆ ที่ไม่เคยคิดมาก่อนได้ นอกจากนี้การรวมกลุ่มกันยังทำให้มนุษย์รู้สึกผ่อนคลายจากความรู้สึกกลัวในความอ้างว้าง กลัวปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพราะสามารถมองหาตัวช่วยอื่นได้มากกว่าการช่วยเหลือตัวเอง

การรวมกลุ่มกันนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นแรกๆ ที่ก่อให้เกิดการก่อตั้งองค์กร ห้างร้าน หรือบริษัทขึ้นมา ซึ่งใช้เป็นตัวแทนกลุ่มคนเพื่อที่จะควบคุม บริหารจัดการกลุ่มคนเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ของกลุ่มคนนั้่นๆ

ในยุคสมัยปัจจุบัน เมื่อคุณมองไปรอบๆ คุณจะเห็นได้ว่ามีบริษัท ห้างร้าน หรือกลุ่มคนทำงานมากมาย นั่นก็เพราะมันเป็นวิธีที่จะสามารถเพิ่มศักยภาพให้เพียงพอ เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ของกลุ่มธุรกิจนั่นเอง

กลุ่มธุรกิจจึงเป็นจุดเริ่มของการผลิตยุคปัจจุบันโดยไม่ต้องสงสัย แต่อย่างไรก็ดีบางกิจกรรมไม่ต้องการกลุ่มคนก็สามารถปฤิบัติงานได้ เช่นงานที่ปรึกษาต่างๆ ที่ดำเนินการด้วยตัวคนเดียว แต่คุณลองนึกภาพสิถ้ากลุ่มคนแบบนั้นมารวมกลุ่มกันได้ จะมีพลังและความสามารถที่เพิ่มขึ้นได้ถึงขนาดไหน

มาที่นิยามการผลิตกันบ้าง
คำถาม : การผลิตคืออะไร??
อย่าพึ่งติดภาพว่าการผลิตคือการผลิตสินค้านะครับ จริงๆแล้วการผลิตคือการแปลง input ให้เป็น output ซึ่งมันจะเป็นอะไรก็ได้ ที่สามารถจะแปลงสภาพสิ่งใดหรือปัจจัยใดๆ ก็ตาม ให้กลายเป็นผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น วินมอเตอร์ไซด์ ที่พี่วินมีการใช้แรงงานพี่วิน รถและน้ำมันรถ และ เวลาของพี่วิน(Input) เปลี่ยนสภาพเป็นระยะทาง(Output) ที่ทำการส่งผู้โดยสาร เห็นไหมครับว่ามันเกิดการผลิต ซึ่งผลผลิตคือระยะทางการส่ง นั่นเอง
ถ้าเรามองให้กว้างๆ แทบจะทุกๆกิจกรรมของมนุษย์สามารถเรียกได้ว่าการผลิตหมด เนื่องจากมนุษย์ต้องทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ

คราวนี้เรามาดูองค์ประกอบของการผลิตบ้าง
ในการผลิตจะมีองค์ประกอบ 2 อย่างคุ่กันไปเสมอนั่นคือ Input และ output

Input จะสามารถประกอบอะไรก็ได้ แต่ตามทฤษฐีที่ผมเรียนมา เขาจะแบ่งมันออกเป็น 4M นั่นคือ

  • Man >> คนที่เป็นแรงงานในการผลิตนั้นๆ นั่นเอง (กรณีพี่วินข้างต้น ก็คือตัวพี่วินนั่นเอง)
  • Machine >> เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต (กรณีพี่วินข้างต้น ก็คือรถพี่วินนั่นเอง)
  • Material >> อุปกรณ์ สิ่งของที่ใช้ในการผลิต (กรณีพี่วินข้างต้น ก็คือน้ำมันรถนั่นเอง)
  • Method >> วิธีการผลิต (กรณีพี่วินข้างต้น ก็คือทักษะการขับและความรู้เส้นทางตัวพี่วินนั่นเอง)
ในบางทฤษฏีอาจจะมี 1E หรือ Enviroment หรือสภาพแวดล้อมการทำงาน เพิ่มเข้ามาด้วย (กรณีพี่วินข้างต้น ก็คือวินที่พี่เขาสังกัดนั่นเอง)

Input ที่กล่าวมาทั้งหมดเนี่ย จะกลายเป็นต้นทุนการผลิตสำหรับ Output ที่เราต้องการนั่นเอง

Output ก็คือผลลัพธ์จาก input นั่นเอง โดยคร่าวๆจะแบ่งได้เป็น
  • Main output หรือจะเรียก Direct output หรืออะไรก็แล้วแต่ >> อันนี้คือ output หลักที่เราต้องการจาก input นั่นๆ (กรณีพี่วินข้างต้น ก็คือระยะทางที่ไปส่งผู้โดยสารนั่นเอง)
  • Co-product output >> อันนี้คือ output อื่นที่เป็นผลผลอยได้ที่ส่งผลดีจากการผลิตนั้นๆ ซึ่ง output ประเภทนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเสมอ หรือเกิดในบางครั้งการผลิตก็ได้ (กรณีพี่วินข้างต้น อาจเป็นทิปที่ได้จากลูกค้าเป็นต้น) 
  • By-product output >> อันนี้คือ output อื่นที่เป็นผลผลอยได้ที่ส่งผลเสียจากการผลิตนั้นๆ ซึ่ง output ประเภทนี้ก่อให้เกิดรายจ่าย ซึ่งอาจเกิดขึ้นเสมอ หรือเกิดในบางครั้งการผลิตก็ได้ (กรณีพี่วินข้างต้น อาจเป็นโดนสุนัขไล่กัดทำให้เกิดการบาดเจ็บเป็นต้น)

จะเห็นว่าในองค์การบริษัทที่ประกอบกิจการใดๆ ก็ตาม จุดประสงค์ใหญ่คือ

  • การบริหาร input เพื่อให้เกิด output
  • สามารถนำ output ไปขายเพื่อให้เกิดรายได้เข้ามา
ถ้าเราสามารถขาย output ให้ได้มากกว่าต้นทุนของ input ก็ทำให้เกิดกำไรนั่นเอง

สรุปสั้นๆ การผลิตคือการแปลงสภาพ input อะไรก็ตามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ output ที่ต้องการ


- แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ ERP -

ERP ก็จะมี module ที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการผลิตเหล่านี้ไงหละ เพื่อที่คุณจะได้สามารถบันทึก input ทุกอย่่างเข้าไป และรายงาน output ทุกอย่างที่ได้
จากนั้นระบบก็จะสามารถทำการหาต้นทุนของ input ที่เกิดขึ้นทั้งหมดสำหรับ output แต่ละอย่างของคุณเพื่อมาหาต้นทุนที่แท้จริงของ output นั้นๆ
เมื่อคุณทราบต้นทุนของ output คุณก็จะรู้ว่าคุณควรตั้งราคาขายไว้เท่าไหร่ ถึงจะกำไร
เริ่มเห็นประโยชน์ของมันแล้วใช่ไหมครับ

นอกจากการเก็บข้อมูลต้นทุนแล้ว ยังก็บข้อมูลการผลิตอื่นๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในมุมอื่นๆ ได้อีกนะจ้ะ

ไว้ผมจะหาเวลาเขียน เล่าประสบการณ์และแนวคิดอื่นๆ ให้อ่านในบทถัดๆไปนะครับ