คงคลัง - Stock Card กระดาษแห่งความเคลื่อนไหว



กระดาษ เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรกๆ โดยชาวอียิปต์และชาวจีนโบราณ
กระดาษในยุคแรกๆ ล้วนผลิตขึ้นเพื่อการจดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น จึงไม่ผิดนักกล่าวได้ว่าระบบการเขียนคือแรงผลักดันให้เกิดการผลิตกระดาษขึ้นในโลก

การจดบันทึกเป็นวิธีการพื้นฐานที่มนุษย์ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งในระบบธุรกิจก็เช่นกัน กระดาษแทบจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยเพื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัท ซึ่งมันอาจจะเป็นเพียงแค่การจดบันทึกหรือเป็นเอกสารสำคัญยิ่งก็ได้

Stock card ก็เป็นการจดบันทึกรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวในแต่ละพื้นที่
เคลื่อนไหวอย่างไรนะหรอ ก็ง่ายๆ เลยมีแค่เคลื่อนไหวเข้ากับเคลื่อนไหวออกไง

ให้เราจินตนาการว่าเรามีที่เก็บสินค้าถ้าเราอยากรู้ประวัติการรับเข้าและเบิกใช้ของสินค้าเพื่อดูว่าเรามีของคงเหลือเท่าไหร่ เราก็ต้องมีการจดบันทึกยอดเข้า-ออกของสินค้านั้นๆ แล้วเราก็จะได้ยอดคงเหลือ ณ ที่เก็บสินค้านั้นถูกต้องใช่ไหม
นั่นคือถ้าเรามี stock card ของสินค้าทุกตัวและจดบันทึกความเคลื่อนไหวได้หมด ทีนี้เราก็จะเช็คยอดและประวัติมันง่ายๆ เลยนะสิ

ปัญหาคือถ้าสินค้าเรามีเยอะๆหละ ลองจินตนาการถึงบริษัทที่มีการสินค้าอยู่หลากหลายประเภท เอาเป็น บริษัทสุขภัณฑ์แล้วกัน โถส้วม อ่าง ก๊อก โอ้ยไม่รู้ตั้งกี่ประเภท แต่ละประเภทมีกี่ยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อ มีกี่รุ่น กี่สี กี่ขนาด.............บอกได้คำเดียว ใช้ stock card แบบจดมือ คนจดตายอย่างเดียว แถมไม่รับประกันความถูกต้องอีก

บริษัทที่มีจำนวนสินค้าเยอะๆ ก็จะพยายามที่จะหาโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแรมสำหรับจัดการความเคลื่อนไหวของสินค้าตรงนี้ ซึ่งบางบริษัทก็เลือกที่จะซื้อ ERP มาใช้สำหรับเรื่องนี้ด้วย

แล้ว ERP มาช่วยเรื่องนี้ได้อย่างไร......เกริ่นมาถึงขนาดนี้ มันก็ต้องมีดีสินะ
แน่นอน ERP มีระบบเก็บประวัติความเคลื่อนไหวของสินค้าให้ไง ทุกๆการทำงานจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าตัวใดก็ตามที่ทำ ขอย้ำว่าเฉพาะที่ทำรายการในระบบ ERP ระบบมันจะบันทึกประวัติให้จ้า
ไม่ว่าจะเป็น การซื้อ การเบิก การตัดจ่าย การโอนย้าย การขาย การตรวจนับ บลา บลา บลา ซึ่งครอบคลุมทุกการเคลื่อนไหวของสินค้า แต่ละคนแค่ทำงานของคุณไป ที่เหลือก็ปล่อยให้ ERP เก็บข้อมูลให้
ณ วันที่คุณต้องการดูประวัติหรือยอดคงเหลือ ก็แค่เปิดระบบ ดูข้อมูล หรือพิมพ์มันออกมาเป็นกระดาษ เห็นไหมผลลัพธ์เดียวกันแต่ไม่ต้องเสียคน เสียเวลามานั่งจดทีละรายการ แถมลดความผิดพลาดในการจดได้ด้วย

เห็นประโยชน์ของระบบ electronic แล้วยังว่ามันช่วยคุณพัฒนาศักยภาพในองค์กรคุณได้ขนาดไหน

TIP for Microsoft Dynamics AX

สำหรับการออกแบบ stock card ใน AX นั้น ให้จำไว้ว่าจะมีคำถามสำคัญที่ต้องถามลูกค้า อยู่ 2 อย่าง คือ

  1. ต้องการดูปริมาณสินค้า on-hand ถึงระดับไหน Site, Warehouse, Location, Batch, Serial
  2. ต้องการควบคุมต้นทุนของสินค้าในระดับไหน Site, Warehouse, Location, Batch, Serial
ซึ่งตรงนี้จะสัมพันธ์กับการตั้งค่า Dimension Group ในเวอร์ชั่นก่อนๆ หรือ storage dimension และ tracking dimension ใน version 2012

รูป storage dimension group

รูป tracking dimension group



ถ้าคำถามที่ 1 ลูกค้า ลูกค้าบอกถึงระดับไหน ให้เช็ค filed "Physical inventory" ถึงระดับนั้o
Tip : Filed physical inventory จะควบคุมระดับ on-hand ที่แท้จริงจนถึงระดับนั้น นั่นคือถ้าคุณเลือกติ๊กถึงระดับไหน ของในระดับนั้นจะไม่ติดลบนั่นเอง (ต้องใช้คู่กับ parameter การไม่ยอมให้ของติดลบที่ inventory model group ด้วยนะจ้ะ)

ถ้าคำถามที่ 2 ลูกค้า ลูกค้าบอกถึงระดับไหน ให้เช็ค filed "Financial inventory" ถึงระดับนั้น
Tip : คีย์คือถามลูกค้าว่า เวลาพิมพ์ stock card ให้สรรพากร ต้องพิมพ์ให้เขาเห็นต้นทุนที่แท้จริงในระดับไหนบ้าง แล้วเราก็ติ๊ก field นี้ถึงระดับนั้นนั่นเอง

หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับ พี่น้องที่ปรึกษาทุกท่านนะครับ

Manager doesn't want to control the employee, 
they just want to control the efficiency.