Planning - Forecast คาดเดาอนาคตกันเถอะ




วันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรนะ ในอนาคตจะเป็นยังไงน้าาา
คำถามยอดฮิตสำหรับมนุษย์ปุถุชน คนธรรมดาเช่นเราๆ เกิดเป็นมนุษย์ต้องมีความกังวลในเรื่องต่างๆที่จะมาถึง โดยเฉพาะอนาคตที่เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถรู้ได้จริงๆ

เชื่อเถอะว่าถ้าเกิดมนุษย์มีสิทธิ์เลือกพลังพิเศษได้ 1 อย่าง จะต้องมีคนที่เลือกพลังมองเห็นอนาคตเยอะแน่ๆ ฟันธง

ในโลกของธุรกิจก็เหมือนกัน ต้องมีการคาดการณ์/วางแผนสำหรับอนาคต โดยเฉพาะการคาดการณ์การขาย หรือที่เรียกว่า Sales forecast
ทำไมต้องทำ Sales forecast นะหรอ ทำไมไม่รอแค่ Order ที่มาจากลูกค้าอย่างเดียวหละ
คำตอบง่ายๆ ก็ตามนี้นะครับ

  1. การขายของต้องมีสินค้าก่อน ซึ่งการได้มาของสินค้าต้องใช้เวลาไม่ว่าจะเป็นจากการผลิตเองหรือซื้อเข้ามา ยิ่งถ้าเป็นของที่ต้องซื้อมาจากต่างประเทศยิ่งต้องใช้เวลาในการขนส่งนานยิ่งขึ้น  ดังนั้นจึงต้องมีการประมาณการณ์ล่วงหน้าเพื่อทำการวางแผนซื้อ/ผลิตสินค้า มาเก็บไว้เพื่อขายนั่นเอง
  2. กดดัน sales ทีม นี่พูดจริงๆนะ Sales forecast ส่วนมากจะคิดมาจาก Sales team มันก็เหมื่อน Commitment กลายๆ ให้กับบริษัทว่า เดือนหน้า 3 เดือนหน้า หรือตลอดปี เราจะมีการขายอะไรจำนวนเท่าไหร่ นั่นแหละ 
      ถ้า Sales ทำไม่ถึงเป้าที่ forecast ไว้ คงนึกภาพออกนะครับว่าจะเจออะไร

Sales forecast ส่วนมากจะใช้สถิติเก่าและนโยบายของบริษัทมาคิดหาตัวเลขที่ประมาณการณ์ เพื่อดูว่าจะ Forecast จำนวนเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม
บางที่ก็จะดูจากยอดขายเก่าๆ ในแต่ละเดือนหรือแต่ละฤดู เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าเพื่อเอามาประมาณการณ์ให้ได้ตัวเลขที่ใกล้เคียงมากยิ่งขึ้น

สำหรับ ERP ตัวไหนที่มีระบบ Planning หรือที่หลายคนคุ้นกับคำว่า MRP (Material Require Planning) ก็มักจะมี function ที่ให้บันทึกข้อมูล forecast อยู่ด้วย ซึ่งข้อมูล forecast ก็จะเอามาทำการวางแผนการซื้อ/ผลิต โดยการ Run MRP นั่นเอง

การ Run MRP ระบบจะช่วยท่านวางแผนว่าท่าจะต้องซื้อ/ผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าไหร่ และเมื่อไหร่ โดยเอายอด Forecast กับ sales order (ขอเรียกว่า Demand) มาหักกับของที่มีอยู่เช่นสินค้าคงคลัง หรือของที่รอรับ (ขอเรียกรวมว่า Supply) เพื่อคำนวณหาของที่ต้องซื้อนั่นเอง

ERP ที่ดีควรจะมี option ให้เลือกว่าจะเอา Demand หรือ Supply ประเภทไหนมาวางแผนบ้าง ซึ่งจะใช้อะไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทธุรกิจแล้วหละ

เริ่มเห็นแล้วใช่ไหมว่าทำไมต้องมี forecast มันมีปรโยชน์อย่างไร ลองจินตนาการสิว่าถ้า forecast ได้แม่นมากๆ จะส่งผลดีต่อธุรกิจขนาดไหน
ถ้าใครมีตาวิเศษคาดการณ์การขายได้นะ ผมจะรีบจ้างมาเป็นที่ปรึกษาทีมขายเลย

TIP for Microsoft Dynamics AX

ใน AX นั้น มี Function การหักลบยอด Sales forecast กับยอด Sales order ซึ่งเป็น Option ที่เรียกว่า Reduction principle อยู่ ถ้าเลือก Reduction principle = Transaction-Reduction key
การหักยอด Forecast กับ Sales order ขึ้นอยู่กับนโยบายว่าจะยึดถือค่าไหนเป็นหลักในการวางแผน โดยมี option ให้เลือกคือ

  1. ไม่หักยอดเลย (ยอด demand = Sales forecast + Sales order)
  2. หักยอด เช่น Forecast = 100, Sales order = 30 ระบบจะหักเหลือยอด Forecast = 70 ระบบจะวางแผนเพื่อซื้อ/ผลิตให้ Sales order 30 และ Forecast 70  แต่ถ้า Forecast =30 และ Sales order = 100 ระบบจะวางแผนเพื่อซื้อ/ผลิตให้ Sales order 100 เลย (ให้ความสำคัญกับ sales order ก่อน)
อันนี้จะเลือกวิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของแต่ละบริษัทแล้วนะ

Reduction principle ผูกอยู่กับ Master plan นะครับ ภาพของ Reduction principle นะจ้ะ



 Reduction principle ต้องใช้คู่กับ Reduction key ที่เป็นตัวกำหนด Period ว่าจะหักลบ Forecast กับ Sales order ในช่วงใด
ถ้าหัก Sales forecast กับ Sales order ในแต่ละเดือน ก็ Set Reduction key เป็นแบบช่วงเดือนนะจ้ะ

Setup ได้ที่่ส่วน setup ของ Module Master plan ภาพของ Reduction key นะจ้ะ

 


หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับ พี่น้องที่ปรึกษาทุกท่านนะครับ

Precise estimation can save your Cash
» » Planning - Forecast คาดเดาอนาคตกันเถอะ » จัดซื้อ - การขอซื้อ ของบหน่อย please
Attakorn L Attakorn L Author 10+ years experience in ERP business. Freelance ERP specialist, Dynamics AX expertise. Local nature budget traveler. Amateur photographer. Dream to be Writer
Title: Planning - Forecast คาดเดาอนาคตกันเถอะ
Author: Attakorn L
Rating 5 of 5 Des:
วันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรนะ ในอนาคตจะเป็นยังไงน้าาา คำถามยอดฮิตสำหรับมนุษย์ปุถุชน คนธรรมดาเช่นเราๆ เกิดเป็นมนุษย์ต้องมีความกังวลในเรื่อ...

จัดซื้อ - การขอซื้อ ของบหน่อย please




กฏแห่งการแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งที่มีค่าเทียบเท่ากัน เป็นสิ่งที่ผลักดันให้โลกใบนี้เคลื่อนไหวมาตลอดตั้งแต่อดีตกาล สาเหตุของมันคงเป็นเพราะการที่คนเราไม่สามารถที่จะเป็นผู้ครอบครองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ได้แต่เพียงผู้เดียว เมื่อเราต้องการสิ่งของใดๆที่ผู้อื่นมีไว้ครอบครองจึงต้องมีการทำการแลกเปลี่ยน ซื้อขายกัน

ในสมัยโบราณ การค้าเริ่มจากการที่มนุษย์เอาสิ่งของที่ตนหาได้ ผลิตได้ไปแลกกับสินค้าอื่นที่ตนเองต้องการ ไม่มีมาตรวัดที่เป็นสากล เรื่องของความคุ้มค่าหรือความพึงพอใจวัดความความรู้สึกล้วนๆ แน่นอนว่าการใช้ความรู้สึกส่วนบุคคลเป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าในแลกเปลี่ยนย่อมเกิดปัญหาเนื่องจากความพึงพอใจที่ไม่ตรงกันของทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นในยุคปัจจุบันเราจึงใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เพื่อความสะดวกและเป็นมาตรฐานเดียวกัน แปลงสินค้านั้นเป็นตัวเลขเพื่อที่จะได้วัดมูลค่ากันได้ง่าย เพื่อลดปัญหาที่อาจกเกิดจากการซื้อขายนั่นเอง

ที่เล่ามาทั้งหมด ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับระบบขอซื้อเลย.....แค่นึกมาได้เลยมาเขียน
งั้นมาเข้าเรื่องระบบขอซื้อกันสักหน่อย

ระบบขอซื้อคืออะไร - ระบบขอซื้อเป็นระบบเริ่มต้นในการสั่งซื้อสินค้า บริการ หรืออะไรสักอย่างเข้ามาในบริษัท ซึ่งโครงสร้างทั่วไปของบริษัทจะต้องทำการขอซื้อ ก่อนที่จะทำการสั่งซื้อ
คิดซะว่ามันคือขั้นตอนการดำเนินการภายในว่ามีความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการอะไรจากคนในบริษัท เพื่อที่จะทำการตัดสินใจและอนุมัติโดยผู้มีอำนาจภายในก่อนที่จะทำการสั่งซื้อสินค้าไปยังผู้ขายภายนอกนั่นเอง

ทำไมต้องมีการขอซื้อก่อนหละ ไม่มีไม่ได้หรอ - อันนี้ตอบได้เลยว่าไม่ต้องมีการขอซื้อก่อน จะสั่งซื้อเลยก็ได้ เพียงแต่ว่าบริษัทส่วนใหญ่เวลาจะจ่ายเงินซื้ออะไร เวลาจะเอาเงินไปใช้เจ้าของเงินมักจะต้องการตรวจสอบก่อนที่จะปล่อยเงินไปใช้นั่นเอง

การขอซื้อมีขั้นตอนอย่างไร - ส่วนมากจะมีการกำหนดเป็นขั้นตอนภายใน เอาแบบง่ายก็คนที่อยากซื้อของทำเอกสารการขอซื้อมา แล้วขออนุมัติจากผู้มีอำนาจ พออนุมัติแล้วค่อยส่งต่อไปที่แผนกจัดซื้อเพื่อทำการสั่งซื้อต่อไป ประมาณนี้

แล้วการขอซื้อแบบซับซ้อนหละ เป็นยังไง - แบบซับซ้อนก็เหมือนแบบธรรมดาแหละ คือมีการขอซื้อและมีการอนุมัติภายในก่อนสั่งซื้อ โดยอาจจะมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น

  • มีการควบคุมการอนุมัติภายในแยกตามแผนกต่างๆ
  • มีการกำหนดงบประมาณที่ใช้ซื้อได้ของแผนกต่างๆ
  • มีการกำหนดคนอนุมัติมากกว่า 1 คนตามเงื่อนไข เช่น ถ้าต่ำกว่า 1000 USD ให้นาย A อนมุติคนเดียว แต่ถ้าสูงกว่า 1000 USD ต้องให้นาย B อนุมัติด้วย เป็นต้น
ระบบขอซื้อ่กับ ERP หละเป็นไง - ERP ก็จะมีระบบขอซื้อที่ใช้บันทึกข้อมูลการขอซื้อต่างๆ จากคนทีต้องการซื้อ โดยเมื่อบันทึกแล้วก็สามารถทำการพิมพ์ใบขอซื้อมาเพื่อทำเรื่องขออนุมัตินั่นเอง ถ้าเป็น ERP ที่ครบเครื่อง หน่อยก็จะมีระบบ work flow ที่กำหนดลำดับขั้นการอนุมัติได้ แทนที่จะเป็นการอนุมัติข้างนอก ก็มากดอนุมัติที่ตัวระบบเลย ซึ่งท้ายที่สุด ใบขอซื้อที่ผ่านการอนุมัติ ก็จะสามารถแปลงเป็นใบสั่งซื้อได้เลย โดยที่ไม่ต้องมาทำรายการซ้ำซ้อนอีก
ประโยชน์ของ ERP ก็ช่วยในการ tracking ใบขอซื้อ, ลดงานซ้ำซ้อน, จัดการขั้นตอนการอนุมัติ อะไรประมาณนี้แหละครับ

TIP for Microsoft Dynamics AX

สำหรับ AX2012 จะมีระบบการขอซื้อมาให้อยู่แล้ว รวมถึงการกำหนด Work flow สำหรับขั้นตอนการอนุมัติมาให้ด้วย แต่อย่าลืมคำนึงถึง license ที่ต้องใช้ก่อนที่จะเสนอให้ลูกค้านะครับ
เนื่องจากถ้ามีคนต้องมาทำการขอซื้อเยอะๆ หรือทำการอนุมัติเยอะ แปลว่าต้องใช้ license เยอะเช่นกัน

ส่วนการ implement ก็ไม่มีอะไรซับซ้อน ทำตาม Flow ปกติไป นั่นเอง แค่ให้คำนึงถึงข้อจำกัดยิบย่อยของ Software เช่น

  • ไม่สามารถ edit ราคาใน PR ได้ถ้าขอซื้อสินค้าพวก stocked item
  • ถ้าไม่ใช้ workflow ในการอนุมัติ ก็จะไม่มีการ update status ของใบขอซื้อตามความคืบหน้าของการอนุมัติ
  • PR ที่ผ่านการอนุมัติแล้ว แต่ต้องการแก้ไขข้อมูลบางอย่างอีกรอบ ต้องมากด request change เพื่อทำการแก้ไขแล้วส่งอนุมัติใหม่อีกครั้งเท่านั้น
  • คนที่จะเห็น PR หรือแก้ไข PR นั้นๆ ต้องเป็น user เจ้าของ PR เท่านั้น
โดยส่วนตัวคิดว่าระบบ PR ของ AX ก็ใช้งานได้ดีใยระดัหนึ่งเลย แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเช่นกัน แต่ไม่เลวร้ายถึงกับที่ต้อ customize ใหม่หรือไม่สามารถ work around ได้
จัดว่าโอเคพอตัวเลยครับ 
สำหรับท่านที่มี AX อยู่แล้ว อยากใช้ PR ก็ลองพิจารณาดูนะครับ น่าสนใจ




» » Planning - Forecast คาดเดาอนาคตกันเถอะ » จัดซื้อ - การขอซื้อ ของบหน่อย please
Attakorn L Attakorn L Author 10+ years experience in ERP business. Freelance ERP specialist, Dynamics AX expertise. Local nature budget traveler. Amateur photographer. Dream to be Writer
Title: จัดซื้อ - การขอซื้อ ของบหน่อย please
Author: Attakorn L
Rating 5 of 5 Des:
กฏแห่งการแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งที่มีค่าเทียบเท่ากัน เป็นสิ่งที่ผลักดันให้โลกใบนี้เคลื่อนไหวมาตลอดตั้งแต่อดีตกาล สาเหตุของมันคงเป็นเพราะการท...
×